สมุนไพรในครัวเรือน
กระชาย
ไม้ล้มลุก ไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดิน ซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลางพองกว้างกว่าส่วนหัวและส่วนท้าย ใบเดี่ยว รูปขอบขนานแกมรูปไข่ดอกช่อ กลีบดอกสีขาว หรือชมพูอ่อน ตำรายาไทย ใช้เหง้าแก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด
บัวบก (Indian penny wort)
กินได้ทั้งต้นเป็นผักสดหรือลวกกินกับอาหารเช่น ป่น ลาบ แจ่ว นำไปประกอบอาหารอื่นเช่น แกงหวาย ยำกับปลาแห้ง คุณค่าทางยา นำมาต้มกินแก้ฟกช้ำ ลดอาการอักเสบได้ ทำเป็นครีมลบรอยแผลเป็น รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยผ่อนคลายทำให้ความจำและสมองทำงานได้ดี
ขิง
ชื่อท้องถิ่น ขิงเผือก ( เชียงใหม่ ) ขิงแกลงขิงแดง ( จันทบุรี ) สะเอ ( กะเหรี่ยง , แม่ฮ่องสอน )เหง้าขิงมีกลิ่นหอม มีผู้นิยมนำมาหั่นเป้นแว่นๆต้มน้ำตาลเป็นเครื่องดื่ม ทั้งเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องอืด บำรุงธาตุ ช่วยให้สดชื่นแก้อาการไอ นำมาปรุงอาหาร เป็นผักจิ้มก็ได้ใส่ในของหวาน เช่นไข่หวาน กลิ่นจะหอมน่ารับประทาน
มะระขี้นก
ชื่อท้องถิ่น ผักเหย ผักไห่ มะร้อยรูมะห่วย มะโห่ ผลและใบนำมาลวกรับประทานเป็นยาเจริญอาหาร ระบาย แก้โรคลม หัวเข่าบวมเป็นยาบำรุงน้ำดี แก้โรคม้าม ช่วยฟอกเลือดบำรุงตับ บำรุงสายตา และผิวหนัง ส่วนน้ำต้มของใบและผลมะระมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆและแก้ไข้ น้ำคั้นของผลมะระมีสรรพคุณแก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย บำรุงระดู รักษาโรคเบาหวานแพทย์จีนเชื่อว่า มะระมีพลังของความเย็นมีสรรพคุณช่วยขับพิษ
มะเขือเทศ
ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับ 1ของบรรดาอาหารเพื่อสุขภาพ ในมะเขือเทศมีกรดพีคูมาริก (p - Coumaric acid) และกรดคลอโรจีริก (Chlorogenic Acid) อยู่เป็นจำนวนมาก กรดเหล่านี้จะแย่งจับกับไนไตรท์แล้วขจัดออกจากร่างกาย ก่อนที่ไนไตรท์จะไปจับกับเอมีนส์กลายเป็นสารที่ก่อมะเร็งชื่อไนโตรซามีนส์ การทานมะเขือเทศสดอย่างน้อย 7 ครั้งต่อสัปดาห์ จะลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ปอด และกระเพาะลงได้ครึ่งหนึ่ง
กะเพราแดง
ลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้าน ซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่า ใบสีเขียวแกมม่วงแดง ตำรายาไทย ใช้ใบหรือทั้งต้น เป็นยาขับลม แก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน
กระเทียม
ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร บางงานวิจัยระบุว่าสามารถลดได้ถึง 40% เมื่อกินมากพอ สาร S- allylmercaptocysteine ช่วยลดการเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมากประมาณ 50% และกระเทียมยังช่วยเพิ่มระดับเอนไซม์ที่จะทำหน้าที่ล้างพิษของสารก่อมะเร็ง สารนี้จะมีขึ้นเมื่อทุบกระเทียมให้แตกก่อนแล้ววางทิ้งไว ้10 นาที ก่อนจะนำไปใช้ไม่ควรกินกระเทียมขณะท้องว่าง อาจจะเกิดระคายเคือง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องได้
พริกไทย
ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่ดอกช่อออกที่ซอกใบ สีขาวแกมเขียว ผลเป็นผลสดกลม พริกไทยเป็นเครื่องเทศ ใช้แต่งกลิ่นรสและช่วยถนอมอาหาร ตำรายาไทยใช้ผลเป็นยาขับลม แก้อาการท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ และกระตุ้นประสาท
ตะไคร้ (Lemon grass)
มีคุณค่ากับอาหารไทยมานานแล้ว ใส่ในต้มยำ แกงต่างๆ หรือจะหั่นฝอยใส่ยำ ใส่หม่ำ เพิ่มกลิ่นหอม เพิ่มรสชาติและดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ คุณค่าทางยา จะช่วยลดการบีบตัวของลำไส้บรรเทาอาการปวดท้อง ลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
สะระแหน่(Kitchen mint)
เป็นผักที่มีกลิ่นดี หอมเย็น เป็นผักกินสดๆ วิตามินจึงไม่ลดลงไปเพราะการใช้ความร้อน ใช้โรยหน้าต้มยำ ลาบ ก้อย คุณค่าทางอาหารและทางยาให้ความสดชื่น ความคิดแจ่มใส ตากแห้งผสมกับใบชาชงเป็นชาหอมได้ มีเบต้า-แคโรทีน และวิตามินซีสูง
ตำลึง
ชื่อท้องถิ่น ผักแคบ ( ภาคเหนือ )แคเด๊าะ ( กะเหรี่ยง , แม่ฮ่องสอน ) เถา ยอด และใบ มีคุณค่าทางอาหารสูงได้ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามินซีเกลือแร่ แคลเซียม บำรุงเลือด แก้ผอมแห้งแรงน้อยทำให้ผิวพรรณผ่องใส่ ใบแก่มีประโยชน์มากกว่าใบอ่อน , ยอด เถา ใบ และราก ตำคั้นน้ำดื่มแก้หลอดลมอักเสบ สามารถลดน้ำตาลในเลือดรักษาโรคเบาหวาน มีสรรพคุณในทางช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้ง กากคั้นอย่าให้แห้งใช้พอกทาบำบัดโรคพิวหนัง
มะขามเปียก
ใช้เป็นยาถ่าย และยาแก้ไอกัดเสมหะที่เหนียวข้น เนื่องจากมีกรดอินทรีย์ เช่น กรด trataric และกรด citric เปลือกต้น - เป็นยาสมานคุมธาตุ เนื้อในเมล็ด - ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิไส้เดือน ใบและยอดอ่อน - มีรสเปรี้ยว ใช้ในการอาบ อบสมุนไพร
ฟักทอง
ชื่อท้องถิ่น น้ำเต้า ( ภาคใต้ )มะพักแก้ว ( ภาคเหนือ ) มะน้ำแก้ว ( เลย )หมักอื้อ ( เลย , ปราจีนบุรี ) หมากอึ ( ภาคอีสาน )มีวิตามินเอ บำรุงร่างกาย สายตา กระดูก และฟันให้แข็งแรง เมล็ดมีน้ำมัน บำรุงประสาทขับพยาธิ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกตูม ผล ใช้เป็นอาหาร รับประทานเป็นผัก และปรุงเป็นของหวาน
แครอท
มีสารเสริมสุขภาพ 2 ชนิด อัลฟาแคโรทีน วึ่งเป็นตัวสร้างวิตามินเอ แคโรทีนทั้ง 2 ชนิด จัดอยู่ในกลุ่มสารที่ให้ผล สูงสุดในการป้องกันมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีสารเพกติน (pectin) ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการท้องร่วง และน้ำมันหอมระเหยซึ่งจะฆ่าเชื้อแบคทีเรียลิสทีเรีย (listeria) และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆปริมาณที่เหมาะสม : ตามชอบ แต่ควรมีไขมันรวมอยู่ด้วย เพื่อให้สร้างวิตามินเอได้
กะหล่ำปลี
ใบมีสารไดไทโอลไทออนส์ และสารกลูโคซิโนเลท เมื่อแตกตัวจะเป็นสารต้านมะเร็ง ออกฤทธิ์โดยเฉพาะต่อต้านกับมะเร็งลำไส้ แต่หากกินมากไปจะทำให้เกิดคอหอยพอกได้ เพราะมีสารไปกั้นการดูดซึมไอโอดีนที่ต่อมไทรอยด์ ผู้เป็นโรคไทรอยด์ไม่ควรบริโภคมากเพราะไปลดะดับไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดหากกินติดต่อกันนานๆ มีอีกหลายสี เช่นสีม่วงแดง ห้ามรับประทานกะหล่ำสีแดงสดๆเพราะมีเหล็กสูงมาก จะทำให้ท้องผูก
กะหล่ำดอก
เป็นผักตระกูลมัสตาร์ด มีสารที่สามารถดึงสารก่อมะเร็งออกจากเซลล์ โดยมีสารซัลโพราเฟน ซึ่งไปลดการผลิตเอนไซม์ที่จะไปทำอันตรายสารพันธุกรรม DNA ในเซล พืชวงศ์นี้รวมทั้ง บร็อคโคลี คะน้า และกะหล่ำต่างๆ กะหล่ำดิบมีวิตามินซีสูง มีธาตุโพแตสเซี่ยม กำมะถัน และเส้นใยมาก
คะน้า
มีวิตามินซีสูงมาก ใครที่เป็นหวัด ผิวไม่สวย วิตามินซีช่วยได้ ช่วยให้เนื้อเยื่อของเราทำงานได้เต็มกำลัง ทีเด็ดพิเศษคือ นอกจากคะน้า ไม่โกรธที่เรากินคะน้ากันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน คือ คะน้ามีแคลเซียมสูง แคลเซียมของคะน้าที่พลีให้เรานั้นดูดซึมได้ดีกว่าแคลเซียมจากผักอื่นๆ ร่างกายจะได้วิตามินซีเต็มหน่วยกว่าการนำไปผัด
ขึ้นฉ่าย
มีธาตุโพแทสเซียมในปริมาณสูง ทั้งยังมีสารขับปัสสาวะ ซึ่งจะช่วยลดความดันโลหิตได้ และเนื่องจากขจัดสารที่เป็นพิษ ต่อกระบวนการเผาผลาญออกแล้ว จึงช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบหรือเกาต์ได้ ในตำราสมุนไพรพื้นบ้าน ขึ้นฉ่ายเป็นตัวยาที่นิยมนำมารักษาอาการทางประสาท หรือช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ซึ่งในน้ำมันระเหยของขึ้นฉ่ายมีสารที่ช่วยระงับประสาทอยู่ด้วยปริมาณที่เหมาะสม : ตามใจชอบ หากต้องการลดความดันเลือด ควรรับประทานวันละ 4 ต้น
มันฝรั่ง
หัวมันฝรั่งเป็นแหล่งวิตามินซีชั้นดี ยังไม่นับแมกนีเซียมที่จะช่วยให้คุณหลับสบาย และกากใยที่จะช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ยังมีธาตุโพแทสเซียม ในปริมาณสูง ฃ่วยรักษาโรคหัวใจและไตได้ผลดี และยังมีสารแอโทีฟีน (atropine) ที่อยู่ในน้ำของมันฝรั่งที่สามารถช่วยบรรเทาอาการจุดเสียดได้ด้วยปริมาณที่เหมาะสม : มากที่สุดเท่าที่จะรับประทานได้
พริก
สารแคปไซซิน ในพริกช่วยลดพิษของสารก่อมะเร็งได้ ช่วยไม่ให้มีการจับตัวระหว่างไนไตรท์กับเอมีนส์ซึ่งจะกลายเป็นสารอันตราย พริกยิ่งเผ็ดเท่าไรก็ยิ่งมีแคปไซซินมากเท่านั้น
กระชาย
ไม้ล้มลุก ไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดิน ซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลางพองกว้างกว่าส่วนหัวและส่วนท้าย ใบเดี่ยว รูปขอบขนานแกมรูปไข่ดอกช่อ กลีบดอกสีขาว หรือชมพูอ่อน ตำรายาไทย ใช้เหง้าแก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด
บัวบก (Indian penny wort)
กินได้ทั้งต้นเป็นผักสดหรือลวกกินกับอาหารเช่น ป่น ลาบ แจ่ว นำไปประกอบอาหารอื่นเช่น แกงหวาย ยำกับปลาแห้ง คุณค่าทางยา นำมาต้มกินแก้ฟกช้ำ ลดอาการอักเสบได้ ทำเป็นครีมลบรอยแผลเป็น รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยผ่อนคลายทำให้ความจำและสมองทำงานได้ดี
ขิง
ชื่อท้องถิ่น ขิงเผือก ( เชียงใหม่ ) ขิงแกลงขิงแดง ( จันทบุรี ) สะเอ ( กะเหรี่ยง , แม่ฮ่องสอน )เหง้าขิงมีกลิ่นหอม มีผู้นิยมนำมาหั่นเป้นแว่นๆต้มน้ำตาลเป็นเครื่องดื่ม ทั้งเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องอืด บำรุงธาตุ ช่วยให้สดชื่นแก้อาการไอ นำมาปรุงอาหาร เป็นผักจิ้มก็ได้ใส่ในของหวาน เช่นไข่หวาน กลิ่นจะหอมน่ารับประทาน
มะระขี้นก
ชื่อท้องถิ่น ผักเหย ผักไห่ มะร้อยรูมะห่วย มะโห่ ผลและใบนำมาลวกรับประทานเป็นยาเจริญอาหาร ระบาย แก้โรคลม หัวเข่าบวมเป็นยาบำรุงน้ำดี แก้โรคม้าม ช่วยฟอกเลือดบำรุงตับ บำรุงสายตา และผิวหนัง ส่วนน้ำต้มของใบและผลมะระมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆและแก้ไข้ น้ำคั้นของผลมะระมีสรรพคุณแก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย บำรุงระดู รักษาโรคเบาหวานแพทย์จีนเชื่อว่า มะระมีพลังของความเย็นมีสรรพคุณช่วยขับพิษ
มะเขือเทศ
ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับ 1ของบรรดาอาหารเพื่อสุขภาพ ในมะเขือเทศมีกรดพีคูมาริก (p - Coumaric acid) และกรดคลอโรจีริก (Chlorogenic Acid) อยู่เป็นจำนวนมาก กรดเหล่านี้จะแย่งจับกับไนไตรท์แล้วขจัดออกจากร่างกาย ก่อนที่ไนไตรท์จะไปจับกับเอมีนส์กลายเป็นสารที่ก่อมะเร็งชื่อไนโตรซามีนส์ การทานมะเขือเทศสดอย่างน้อย 7 ครั้งต่อสัปดาห์ จะลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ปอด และกระเพาะลงได้ครึ่งหนึ่ง
กะเพราแดง
ลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้าน ซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่า ใบสีเขียวแกมม่วงแดง ตำรายาไทย ใช้ใบหรือทั้งต้น เป็นยาขับลม แก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน
กระเทียม
ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร บางงานวิจัยระบุว่าสามารถลดได้ถึง 40% เมื่อกินมากพอ สาร S- allylmercaptocysteine ช่วยลดการเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมากประมาณ 50% และกระเทียมยังช่วยเพิ่มระดับเอนไซม์ที่จะทำหน้าที่ล้างพิษของสารก่อมะเร็ง สารนี้จะมีขึ้นเมื่อทุบกระเทียมให้แตกก่อนแล้ววางทิ้งไว ้10 นาที ก่อนจะนำไปใช้ไม่ควรกินกระเทียมขณะท้องว่าง อาจจะเกิดระคายเคือง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องได้
พริกไทย
ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่ดอกช่อออกที่ซอกใบ สีขาวแกมเขียว ผลเป็นผลสดกลม พริกไทยเป็นเครื่องเทศ ใช้แต่งกลิ่นรสและช่วยถนอมอาหาร ตำรายาไทยใช้ผลเป็นยาขับลม แก้อาการท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ และกระตุ้นประสาท
ตะไคร้ (Lemon grass)
มีคุณค่ากับอาหารไทยมานานแล้ว ใส่ในต้มยำ แกงต่างๆ หรือจะหั่นฝอยใส่ยำ ใส่หม่ำ เพิ่มกลิ่นหอม เพิ่มรสชาติและดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ คุณค่าทางยา จะช่วยลดการบีบตัวของลำไส้บรรเทาอาการปวดท้อง ลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
สะระแหน่(Kitchen mint)
เป็นผักที่มีกลิ่นดี หอมเย็น เป็นผักกินสดๆ วิตามินจึงไม่ลดลงไปเพราะการใช้ความร้อน ใช้โรยหน้าต้มยำ ลาบ ก้อย คุณค่าทางอาหารและทางยาให้ความสดชื่น ความคิดแจ่มใส ตากแห้งผสมกับใบชาชงเป็นชาหอมได้ มีเบต้า-แคโรทีน และวิตามินซีสูง
ตำลึง
ชื่อท้องถิ่น ผักแคบ ( ภาคเหนือ )แคเด๊าะ ( กะเหรี่ยง , แม่ฮ่องสอน ) เถา ยอด และใบ มีคุณค่าทางอาหารสูงได้ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามินซีเกลือแร่ แคลเซียม บำรุงเลือด แก้ผอมแห้งแรงน้อยทำให้ผิวพรรณผ่องใส่ ใบแก่มีประโยชน์มากกว่าใบอ่อน , ยอด เถา ใบ และราก ตำคั้นน้ำดื่มแก้หลอดลมอักเสบ สามารถลดน้ำตาลในเลือดรักษาโรคเบาหวาน มีสรรพคุณในทางช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้ง กากคั้นอย่าให้แห้งใช้พอกทาบำบัดโรคพิวหนัง
มะขามเปียก
ใช้เป็นยาถ่าย และยาแก้ไอกัดเสมหะที่เหนียวข้น เนื่องจากมีกรดอินทรีย์ เช่น กรด trataric และกรด citric เปลือกต้น - เป็นยาสมานคุมธาตุ เนื้อในเมล็ด - ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิไส้เดือน ใบและยอดอ่อน - มีรสเปรี้ยว ใช้ในการอาบ อบสมุนไพร
ฟักทอง
ชื่อท้องถิ่น น้ำเต้า ( ภาคใต้ )มะพักแก้ว ( ภาคเหนือ ) มะน้ำแก้ว ( เลย )หมักอื้อ ( เลย , ปราจีนบุรี ) หมากอึ ( ภาคอีสาน )มีวิตามินเอ บำรุงร่างกาย สายตา กระดูก และฟันให้แข็งแรง เมล็ดมีน้ำมัน บำรุงประสาทขับพยาธิ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกตูม ผล ใช้เป็นอาหาร รับประทานเป็นผัก และปรุงเป็นของหวาน
แครอท
มีสารเสริมสุขภาพ 2 ชนิด อัลฟาแคโรทีน วึ่งเป็นตัวสร้างวิตามินเอ แคโรทีนทั้ง 2 ชนิด จัดอยู่ในกลุ่มสารที่ให้ผล สูงสุดในการป้องกันมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีสารเพกติน (pectin) ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการท้องร่วง และน้ำมันหอมระเหยซึ่งจะฆ่าเชื้อแบคทีเรียลิสทีเรีย (listeria) และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆปริมาณที่เหมาะสม : ตามชอบ แต่ควรมีไขมันรวมอยู่ด้วย เพื่อให้สร้างวิตามินเอได้
กะหล่ำปลี
ใบมีสารไดไทโอลไทออนส์ และสารกลูโคซิโนเลท เมื่อแตกตัวจะเป็นสารต้านมะเร็ง ออกฤทธิ์โดยเฉพาะต่อต้านกับมะเร็งลำไส้ แต่หากกินมากไปจะทำให้เกิดคอหอยพอกได้ เพราะมีสารไปกั้นการดูดซึมไอโอดีนที่ต่อมไทรอยด์ ผู้เป็นโรคไทรอยด์ไม่ควรบริโภคมากเพราะไปลดะดับไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดหากกินติดต่อกันนานๆ มีอีกหลายสี เช่นสีม่วงแดง ห้ามรับประทานกะหล่ำสีแดงสดๆเพราะมีเหล็กสูงมาก จะทำให้ท้องผูก
กะหล่ำดอก
เป็นผักตระกูลมัสตาร์ด มีสารที่สามารถดึงสารก่อมะเร็งออกจากเซลล์ โดยมีสารซัลโพราเฟน ซึ่งไปลดการผลิตเอนไซม์ที่จะไปทำอันตรายสารพันธุกรรม DNA ในเซล พืชวงศ์นี้รวมทั้ง บร็อคโคลี คะน้า และกะหล่ำต่างๆ กะหล่ำดิบมีวิตามินซีสูง มีธาตุโพแตสเซี่ยม กำมะถัน และเส้นใยมาก
คะน้า
มีวิตามินซีสูงมาก ใครที่เป็นหวัด ผิวไม่สวย วิตามินซีช่วยได้ ช่วยให้เนื้อเยื่อของเราทำงานได้เต็มกำลัง ทีเด็ดพิเศษคือ นอกจากคะน้า ไม่โกรธที่เรากินคะน้ากันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน คือ คะน้ามีแคลเซียมสูง แคลเซียมของคะน้าที่พลีให้เรานั้นดูดซึมได้ดีกว่าแคลเซียมจากผักอื่นๆ ร่างกายจะได้วิตามินซีเต็มหน่วยกว่าการนำไปผัด
ขึ้นฉ่าย
มีธาตุโพแทสเซียมในปริมาณสูง ทั้งยังมีสารขับปัสสาวะ ซึ่งจะช่วยลดความดันโลหิตได้ และเนื่องจากขจัดสารที่เป็นพิษ ต่อกระบวนการเผาผลาญออกแล้ว จึงช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบหรือเกาต์ได้ ในตำราสมุนไพรพื้นบ้าน ขึ้นฉ่ายเป็นตัวยาที่นิยมนำมารักษาอาการทางประสาท หรือช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ซึ่งในน้ำมันระเหยของขึ้นฉ่ายมีสารที่ช่วยระงับประสาทอยู่ด้วยปริมาณที่เหมาะสม : ตามใจชอบ หากต้องการลดความดันเลือด ควรรับประทานวันละ 4 ต้น
มันฝรั่ง
หัวมันฝรั่งเป็นแหล่งวิตามินซีชั้นดี ยังไม่นับแมกนีเซียมที่จะช่วยให้คุณหลับสบาย และกากใยที่จะช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ยังมีธาตุโพแทสเซียม ในปริมาณสูง ฃ่วยรักษาโรคหัวใจและไตได้ผลดี และยังมีสารแอโทีฟีน (atropine) ที่อยู่ในน้ำของมันฝรั่งที่สามารถช่วยบรรเทาอาการจุดเสียดได้ด้วยปริมาณที่เหมาะสม : มากที่สุดเท่าที่จะรับประทานได้
พริก
สารแคปไซซิน ในพริกช่วยลดพิษของสารก่อมะเร็งได้ ช่วยไม่ให้มีการจับตัวระหว่างไนไตรท์กับเอมีนส์ซึ่งจะกลายเป็นสารอันตราย พริกยิ่งเผ็ดเท่าไรก็ยิ่งมีแคปไซซินมากเท่านั้น
ชอบๆๆ สวยดีนะ